วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2559

อาหารพื้นเมือง

อาหารพื้นเมือง

















น้ำพริกหนุ่ม

น้ำพริกหนุ่ม คือพริกหนุ่ม คือพริกสดที่ยังไม่แก่จัด น้ำพริกหนุ่ม เป็นน้ำพริกที่มีลักษณะข้น เป็นอาหารพื้นบ้านล้านนาที่รู้จักกันทั่วไป มีจำหน่ายแพร่หลายแก่นักท่องเที่ยว นิยมซื้อเป็นของฝาก รับประทานกับแคบหมู บางสูตรใส่ปลาร้าสับ และกะปิห่อใบตองย่างไฟ บางสูตรใส่น้ำปลากับเกลือ แล้วแต่ชอบ

แคบหมู
แคบหมู เป็นอาหารขึ้นชื่อของชาวล้านนา ใช้รับประทานร่วมกับอาหารอื่นๆ เช่น น้ำพริก ขนมจีนน้ำเงี้ยว ใช้เป็นส่วนผสมในการตำน้ำพริก หรือแกง เช่น แกงบอน แกงผักตำลึง (แกงผักแคบ) แกงหน่อไม้ แคบหมูมีทั้งชนิดติดมัน และไม่ติดมัน ที่เรียกกันว่า แคบหมูไร้มัน ชาวล้านนาดั้งเดิม นิยมรับประทานแคบหมูเป็นอาหาร มากกว่าเป็นเครื่องแนม

ไส้อั่ว
ไส้อั่ว  คำว่า อั่ว หมายถึง แทรก หรือยัดไว้ตรงกลาง ไส้อั่ว จึงหมายถึงไส้ที่มีการนำสิ่งของยัดไว้ การทำไส้อั่ว นิยมใช้ไส้หมูและเนื้อหมู การทำไส้อั่ว เป็นวิธีการถนอมอาหาร ให้สามารถรับประทานได้นานขึ้น คือประมาณ 1-2 วัน แต่ถ้าเก็บไว้ในที่เย็น หรือปัจจุบัน มีการบรรจุถุงแบบสูญญากาศ ก็เก็บไว้ได้นานมากยิ่งขึ้น การทำให้ไส้อั่วสุก จะใช้วิธีปิ้ง หรือทอดก็ได้

น้ำพริกอ่อง
น้ำพริกอ่อง นับเป็นน้ำพริกพื้นบ้านล้านนาที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายพอๆ กับน้ำพริกหนุ่ม ลักษณะเด่นของน้ำพริกอ่อง คือมีสีส้มของสีมะเขือเทศและพริกแห้ง ที่เคี่ยวจนเป็นน้ำขลุกขลิก มีน้ำมันลอยหน้าเล็กน้อย มีสามรส คือ เปรี้ยว เค็ม เผ็ด เล็กน้อย และรสหวานตาม นิยมรับประทานกับผักสดหรือผักต้มก็ได้  บางสูตร ผัดหมูก่อนแล้ว จึงตามด้วยเครื่องปรุงและมะเขือเทศภายหลัง บางสูตร โขลกเนื้อหมู เครื่องปรุงและมะเขือเทศให้เข้ากันก่อน จึงนำไปผัดกับน้ำมันพืช บางสูตร ใส่ถั่วเน่าแข็บหรือใส่เต้าเจี้ยว ในการปรุงรส


ขนมจีนน้ำเงี้ยว
น้ำเงี้ยว หรือ น้ำงิ้วเนื่องจากมีส่วนประกอบคือดอกเงี้ยวหรือดอกงิ้ว เป็นอาหารภาคเหนือของประเทศไทย ดัดแปลงมาจากน้ำพริกอ่อง น้ำพริกแกงจะคล้ายน้ำพริกแกงส้มของทางภาคกลาง คือใช้พริกแห้ง แต่ไม่ใส่กระชาย และใส่ถั่วเน่าแผ่นหรือเต้าเจี้ยวหรือทั้งสองอย่าง มักจะใช้รับประทานกับ ขนมจีน (ขนมเส้น) หรือเส้นก๋วยเตี๋ยว


แกงขนุน
แกงขนุน คือ  แกงขนุน หรือ แกงบ่าหนุน ถือว่าเป็นแกงที่มีชื่อเป็นมงคล บางท่านนิยมแกงกินในงานแต่งงาน เพื่อเป็นเคล็ดว่าให้คู่แต่งงานนั้นมีความเกื้อหนุนจุนเจือต่อกัน และในวันปากปี คือหลังวันเถลิงศก (วันพญาวัน) หนึ่งวัน บางแห่งนิยมใส่ข่า ตะไคร้ทุบ และอาจมีจักข่าน (สะค้าน) บ่าแขว่น (ผลกำจัด) โขลกใส่ลงไปในแกงด้วย


แกงโฮ๊ะ
โฮ๊ะ หมายถึงรวม แกงโฮะจึงหมายถึงการเอากับข้าวหลายๆ อย่างมาแกงรวมกันเป็นอีกภูมิปัญญาหนึ่งของบ้านเรา วิธีทำแกงโฮะไม่ยุ่งยาก โดยนำกับข้าวที่มีอยู่หลายๆ อย่างมาเทรวมกัน ถ้าจะให้อร่อยจะต้องใส่แกงฮังแลเข้าไปด้วยตั้งกระทะ ไฟอ่อนๆ ใส่ตะไคร ข่า จากนั้นโขลกพริก กระเทียม กะปิ ใส่ลงไปในแกง ตามด้วยหน่อไม้ดองเล็กน้อย ถั่วฝักยาว มะเขือเปราะ มะเขือพวง (บางแห่งใส่ดอกข่าลงไปด้วย) หลังจากนั้นใส่ผงกะหรี่ ใส่เกลือปรุงรสตามชอบ เคี่ยวจนงวด ใส่วุ้นเส้น ใบมะกรูด ผัดจนแห้ง


แกงเห็ดห้า
แกงเห็ดห้าจะมีรสชาติเผ็ด เค็ม เปรี้ยวของใบบ่าเหม้า และที่สำคัญจะมีกลิ่นหอมดินของเห็ดช่วงเป็นอีกเสน่ห์ของรสชาติที่ลงตัวในช่วงฤดูฝน


ข้าวหนึกงา
ข้าวหนึกงา เป็นอาหารพื้นบ้านพื้นเมืองหรือสำหรับบางคนก็เป็นของกินเล่น ที่มักนิยมทำกินกันในช่วงฤดูหนาว ซึ่งวิธีการทำก็ไม่ยุ่งยากซับซ้อน เพีงนำข้าวเหนียว (นิยมนำข้าวเหนียวที่ยังร้อน ๆ อุ่น ๆ มาทำ ) มาผสมคลุกเคล้ากับงาที่โขลกละเอียด (คำว่า หนึกเป็นคำเมืองแปลว่าผสมคลุกเคล้านวดให้เข้ากัน)ใส่เกลือเล็กน้อย เท่านี้ก็ได้ ข้าวหนึกงา


อองปู
ปู๋อ่อง เป็นอาหารพื้นบ้านหารับประทานได้ในช่วงฤดูฝนไปจนถึงต้นฤดูหนาวเพราะช่วงนี้เป็นช่วงที่ปูนามีเยอะมาก วิธีทำก็แสนจะง่ายโดยนำมันปูนาที่หาได้มารวมกันในกระดองปู(บางพื้นที่นำไข่ไก่ผสมด้วย)แล้วปรุงรสด้วยเกลือเล็กน้อย จากนั้นนำไปย่างไฟอ่อนๆ จนสุก
ยำหน่อไม้
ยำหน่อไม้ นิยมใช้หน่อไม้ไล่ ต้มให้สุกจนมีรสหวาน นำมายำกับเครื่องปรุง นิยมใส่น้ำปู ใบขิงหั่น หรือไพล (ปูเลย) บางสูตรใส่หมูสับลงไปด้วย โดยต้มพร้อมปลาร้าสับ จากนั้นจึงนำมาคลุกเคล้ากับเครื่องปรุง
 ไข่ป่าม
ไข่ป่าม ป่ามไข่ หรืออ็อกไข่ เป็นการปรุงอาหารด้วยวิธีอ็อก โดยการใช้ใบตอง 2-3 ใบเย็บเป็นกระทง มีส่วนผสมง่ายๆ คือไข่ไก่ หรือไข่เป็ด ใส่เกลือและต้นหอมซอย ปัจจุบันนิยมใช้พริกหยวกสีแดง หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อเพิ่มสีสรรให้แก่อาหาร ให้น่ารับประทาน วิธีการทำให้สุก นำไข่ป่ามที่ปรุงแล้วใส่กระทงไปย่างกับเตาถ่าน หรือใช้วิธีตั้งกระทะ ใช้ไฟอ่อน
แกงอ่อม
แกงอ่อม  คือ    เป็นแกงประเภทที่ใช้เนื้อสัตว์เป็นส่วนผสมหลัก เช่น ปลา เนื้อวัว เนื้อควาย เนื้อไก่ นอกจากเนื้อแล้ว นิยมใส่เครื่องในสัตว์เป็นส่วนผสมด้วย เรียกชื่อตามส่วนผสมหลัก ได้แก่ แกงอ่อมไก่ แกงอ่อมปลา แกงอ่อมเนื้อ (แกงอ่อมจิ๊นงัว แกงอ่อมจิ๊นควาย) แกงอ่อมหมู (แกงอ่อมจิ๊นหมู) บางก็แกงอ่อมเฉพาะเครื่องใน เช่น แกงอ่อมเครื่องในวัว แกงอ่อมเครื่องในควาย


ส้าจิ้น 
ส้าจิ๊น คือส้าเนื้อ ส่วนผสมหลักคือ เนื้อควายหรือเนื้อวัวสด และเครื่องใน สำหรับเครื่องใน นิยมนำมาต้มก่อนปรุง ใช้เครื่องปรุง เป็นพริกลาบ เช่นเดียวกับลาบชนิดต่างๆ ถ้าทำเลี้ยงแขกตอนดึกหรือเช้าตรู่ สำหรับงานเลี้ยงที่มีการชำแหล่ะหมู วัว หรือควาย ส้าจิ๊นที่ทำตอนดึก เรียกกันว่า ส้าดึก



แอ๊บปลา

แอ็บปลา คืออาหารที่ปรุงด้วยการนำปลาสด เช่น ปลาช่อน ปลาดุก มาคลุกเคล้ากับเครื่องปรุง แล้วห่อด้วยใบตอง เช่นเดียวกับแอ็บอ่องออ แอ็บกุ้ง แล้วนำไปปิ้งหรือย่าง ด้วยไฟอ่อนๆ จนข้างในสุก


ที่มา http://www.phayao108.com/category/%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B9%8B%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B2/

ศิลปวัฒนธรรม/ประเพณี



สลากภัตร
สลากภัต ภาคเหนือเรียกว่า ประเพณีทานก๋วยสลาก ตามวัดต่าง ๆ โดยจัดในช่วงเดือน 6 จนถึงเดือน 8 ซึ่งเป็นช่วงผลไม้อุดมสมบูรณ์[3] โดยมีการรวมตัวของคณะศรัทธาทั้งหมู่บ้านนำผลไม้และสำรับคาวหวานไปตั้งเป็นสลากถวายพระภิกษุที่นิมนต์มาจากวัดต่าง ๆ เป็นประเพณีใหญ่สำหรับหมู่บ้านและวัดนั้น ๆ


เผาหลัวผิงไฟ
แต่โบราณอากาศหนาวมากประกอบกับชาวบ้านยากจนไม่ค่อยมีเครื่องนุ่งห่ม ส่วนใหญ่ใช้การผิงไฟช่วยให้อบอุ่น ในช่วงการตานเข้าใหม่คือวันเพ็ญเดือน 4เหนือประมาณตี 4 – ตี 5 อากาศจะหนาวมากคนโบราณจึงคิดการเผาหลัวพระเจ้าตอนเช้ามืด
และคิดว่าเมื่อคนเราหนาวพระพุทธเจ้าก็น่าจะหนาวด้วยจึงนำไม้หลัว(ฟืน)ที่เตรียมไว้มากองตรงหน้าวิหาร(กองเตรียมไว้ตอนเย็นก่อนวันเผา) ก่อนจุดไฟจะนำหลัวมัดเล็ก ๆ ไปประเคนพระพุทธรูป พระสงฆ์เป็นผู้ทำพิธีจุดไฟ เมื่อจุดไฟแล้วจะมีเสียงดังโป้ง ๆ จากไม้ไผ่ที่ใส่ไว้ข้างในวัตถุประสงค์เพื่อใช้ปลูกชาวบ้านให้ตื่นขึ้นมานึ่งข้าวทำกับข้าวมาถวายที่วัด อากาศอบอุ่นทั่วทั้งบริเวณวัด นับว่าเป็นกุศโลบายของคนโบราณที่โน้มน้าวจิตใจลูกหลานให้ต้องการจะทำบุญด้วยจิตสำนึกของตนเอง และคนแม่แจ่มได้สืบทอดประเพณีตานเข้าใหม่เผาหลัวพระเจ้ามาจนถึงปัจจุบันแม้คนที่ไม่ไดทำนาก็จะหาข้าวเปลือก ข้าวสาร มาร่วมทำบุญเพราะถูกสั่งสอนว่าเมื่อถึงฤดูได้กินข้าวใหม่ก่อนจะกินต้องนำไปตาน(ถวายพระ)ก่อน ตนเองถึงจะอยู่ดีมีสุข



ลอยกระทง
การลอยกระทง เป็นประเพณีที่มีมาแต่โบราณ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่า ปฏิบัติกันมาแต่เมื่อไร เพียงแต่ท้องถิ่นแต่ละแห่ง ก็จะมีจุดประสงค์และความเชื่อในการลอยกระทงแตกต่างกันไป เช่น ในเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ก็จะเป็นการบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์, เป็นบูชารอยพระพุทธบาท ณ หาดทรายริมฝั่งแม่น้ำนัมมทา ซึ่งปัจจุบันคือแม่น้ำเนรพุททาในอินเดีย หรือต้อนรับพระพุทธเจ้า ในวันเสด็จกลับจากเทวโลก เมื่อครั้งไปโปรดพระพุทธมารดา


  รดน้ำดำหัว
รดน้ำดำหัวเป็นพิธีต่อเนื่องจากวันสงกรานต์หรือวันขึ้นปีใหม่ของไทย เป็นประเพณีที่ แสดงถึงความเคารพนบน้อบต่อบิดามารดา ผู้ใหญ่ หรือผู้มีพระคุณ เป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวที ของผู้น้อยและขอขมาลาโทษที่ผู้น้อยอาจเคยล่วงเกินผู้ใหญ่ อีกทั้งเป็นการขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคล แก่ตนเองตลอดไปตั้งแต่วันแรกของการเริ่มประ เพณีสงกรานต์ จนถึงวันสุดท้ายของสงกรานต์



 เลี้ยงผีปู่ผีย่า
หมายถึงการจัดอาหารคาวหวานไปเซ่นสังเวย ดวงวิญญาณผู้ตาย ณ หิ้งผีปู่ย่าหรือหอผีชาวล้านนา            ถือว่า เมื่อปู่ ย่า ตา ยาย ตายไปวิญญาณจะวนเวียนมารักษาลูกหลาน ดังนั้นภายในบ้านของชาวล้าน          นา จึงจัดทำ"หิ้งผีปู่ย่า" ไว้ทุกบ้าน โดยจัดตั้งไว้ที่สูง นิยมจัดตั้งไว้บนหัวนอนของบ้าน สูงจากพื้น            กระดานราว ๒ เมตร หิ้งผีปู่ย่านี้ถือว่าเป็นของสูง เด็กๆจะไปเล่นไม่ได้ ผู้อาวุโส หรือพ่อแม่เท่านั้นที่        จะเกี่ยวข้องกับหิ้งปู่ย่าได้ นอกจากนี้ชาวชนบทล้านนาบางแห่ง เชื่อว่า ปู่ย่าตายายที่ตายไปแล้วหลาย        คนและ เป็นญาติพี่น้องสายเลือดเดียวกัน น่าจะอยู่ร่วมกันได้ จึงคิดสร้าง "หอผี" ขึ้น เพื่อให้ผีอยู่ร่วม        กัน

 เวียนเทียนวัดกลางน้ำ
ประเพณีเวียนเทียนที่วัดติโลกอาราม มีความแตกต่างจากการเวียนเทียนในวัดอื่นๆ คือ วัดติโลกอารามจะเวียนเทียนโดยการนั่งเรือเวียนเทียนรอบวัดซึ่งตั้งอยู่กลางน้ำ โดยในแต่ละปีจะมีการเวียนเทียน ๓ ครั้ง คือ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา และวันอาสาฬหบูชา


 ยี่เป็ง

ในพงศาวดารโยนกและจามเทวี ได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับประเพณียี่เป็งเอาไว้ว่า ครั้งหนึ่งเมื่อบ้านเมืองเกิดภัยร้ายแรงด้วยโรคอหิวาตกโรคขึ้นที่แคว้นหริภุญไชย ชาวเมืองล้มตายเป็นจำนวนมาก ทำให้ชาวเมืองที่เหลือต้องอพยพไปอยู่เมืองหงสาวดีนานถึง 6 ปี จึงกลับคืนสู่บ้านเมืองเดิม ครั้นถึงเวลาเวียนมาบรรจบครบวันที่ต้องจากบ้านเมืองไป จึงได้ทำพิธีรำลึกถึงญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วด้วยการทำกระถางใส่เครื่องสักการบูชา ธูปเทียนลอย แล้วนำไปลอยตามน้ำ เรียกว่า การลอยโขมดหรือลอยไฟ นั่นจึงเป็นที่มาของประเพณียี่เป็งที่มีมาจนถึงทุกวันนี้

ที่มาhttp://www.xnk3cikmwc5gwb5fxbya.com/category/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B8%AD/

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านแม่ใส

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านแม่ใส

      ลักษณะที่ตั้ง , ขนาดของพื้นที่ , อาณาเขตติดกับ , ลักษณะภูมิประเทศ

หมู่บ้านแม่ใส เดิมชื่อ "บ้านนางเหลียว" ประชาชนส่วนใหญ่ย้ายมาจากบ้านทุ่งป่ายะ และบ้านทุ่งโค้ง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2299 มีประชาชนประมาณ 12 หลังคาเรือน มาก่อสร้างบ้านเรือนติดกับสายน้ำแม่ใส ซึ่งไหลมาจากบ้านร่องคำน้อย โดยมี พระวงศ์ ธมมวโส เป็นผู้นำ และได้จัดตั้งวัดขึ้นเป็นครั้งแรก ชื่อว่า "วัดนางเหลียว" มีนายหลาน นาแพร่ เป็นกำนันคนแรก ขึ้นกับตำบลบ่อแฮ้ว อำเภอพะเยา จังหวัดเชียงราย หมู่ที่ 2 ต่อมามีนายสุนันท์ ชุ่มวงศ์ ได้ปรับปรุงบ้านพร้อมทั้งพัฒนาหมู่บ้าน และที่มาของชื่อบ้านแม่ใส ยึดเอาจากลำน้ำแม่ใสมาเป็นชื่อหมู่บ้าน
และตำบลแม่ใส แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 12 หมู่บ้าน ดังนี้
หมู่ที่ 1      บ้านร่องไฮ
หมู่ที่ 2      บ้านแม่ใสกลาง 
หมู่ที่ 3      บ้านแม่ใสทุ่งวัวแดง
หมู่ที่ 4      บ้านแม่ใสเหล่า 
หมู่ที่ 5      บ้านบ่อแฮ้ว 
หมู่ที่ 6      บ้านสันป่าถ่อน  
หมู่ที่  7     บ้านสันช้างหิน
หมู่ที่  8     บ้านแม่ใสหัวขัว  
หมู่ที่  9     บ้านแม่ใสเหนือ
หมู่ที่ 10    บ้านสันป่าถ่อน
หมู่ที่ 11    บ้านร่องไฮ
หมู่ที่ 12    บ้านแม่ใสเหล่าใต้



ลักษณะที่ตั้ง


เป็นที่ราบภูเขา

ขนาดของพื้นที่

 มีเนื้อที่ทั้งหมด 4,395 ไร่ 2 งาน

โดยมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

- ทิศเหนือ             ติดกับกว๊านพะเยาและตำบลเวียง อำเภอเมืองพะเยา 
- ทิศใต้     ติดกับตำบลแม่กา   และตำบลแม่นาเรือ
- ทิศตะวันออก     ติดกับตำบลแม่ต๋ำ และตำบลแม่กา    
- ทิศตะวันตก       ติดกับตำบลแม่นาเรือและตำบลบ้านตุ่น  อำเภอเมืองพะเยา

ลักษณะภูมิประเทศ

ภูมิประเทศเต็มไปด้วยขุนเขาน้อยใหญ่สลับซับซ้อน และมีพื้นที่สำคัญของประเทศอยู่หลายจุด

สภาพภูมิอากาศ

ภาคเหนือมีลักษณะภูมิอากาศดังนี้
 1.ประเภทภูมิอากาศ
     ภาคเหนือมีภูมิอากาศแบบร้อนชื้นสลับร้อนแห้งแล้ง หรือฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดู
2.อุณหภูมิ
     โดยที่ภาคเหนือตั้งอยู่ในภาคพื้นทวีปมากที่สุด พิสัยอุณหภูมิจึงสูงมาก มีอุณหภูมิสูงสุด 44.5 องศาเซลเซียส ที่ จ. อุตรดิตถ์ เป็นอุณหภูมิที่เคยสูงสุดของภาคและ ของประเทศ ฤดูหนาวอากาศเย็น เคยมีอุณหภูมิต่ำสุดถุง 1 องศาเซลเซียสที่ จ.เชียงราย
3.ปริมาณฝน
     ภาคเหนือได้รับฝนส่วนใหญ่ในช่วงฤดูฝนที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่านประเทศไทย ซึ่งเป็นช่วงฤดูฝนด้านที่ต้นลมจะได้รับปริมาณฝนมากกว่าด้านปลายลม ซึ่งฝนที่ตก อยู่นั้นเป็นลักษณะของฝนภูเขา พื้นที่หน้าเขาจะได้รับฝนมากกว่าด้านหลังเขา และได้รับฝนจากพายุดีเปรสชันที่พัดมาจากทะเลจีนใต้ จังหวัดที่มีปริมาณน้ำฝน มากที่สุดของภาคเหนือคือ จ.เชียงราย จังหวัดที่มีปริมาณน้ำฝนน้อยที่สุดคือ จ.ลำพูน
4.ฤดูกาล
     ภาคเหนือมี 3 ฤดู คือ ฤดูฝน ฤดูหนาว และฤดูร้อน
     ฤดูฝน ซึ่งเป็นฤดูที่เริ่มลงมือเพาะปลูกพืชเมืองร้อน จะเริ่มประมาณกลางเดือนพฤษภาคมและไปสิ้นฤดูในเดือนกันยายนหรือต้นเดือนตุลาคม ฝนที่ตกเป็นฝนจาก มรสุมตะวันตก เฉียงใต้ที่พัดมาจากอ่าวเบงกอล กับฝนจากพายุดีเปรสชันที่พัดจากทะเลจีนใต้
     ฤดูหนาว เป็นฤดูของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มต้นประมาณกลางเดือนตุลาคมและสิ้นสุดประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ฤดูหนาวในภาคเหนือมีลักษณะเห็นเด่นชัด กว่าภาคกลาง และภาคใต้ เพราะอยู่ใกล้แนวเคลื่อนที่ของอากาศหนาวเย็นที่เคลื่อนที่จากเขตความกดอากาศสูงในไซบีเรียและผ่านประเทศจีน
     ฤดูร้อน เริ่มต้นประมาณกลางเดือนกุลภาพันธ์และไปสิ้นสุดประมาณกลางเดือนพฤษภาคม ในเดือนกุมภาพันธ์มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเริ่มอ่อนกำลังลง ทำให้ลมตะวันออกเฉียง ใต้จากทะเลจีนมีกำลังแรงขึ้น เป็นผลให้เกิดพายุฤดูร้อนขึ้นในภาคเหนือเป็นครั้งคราว ในเดือนมีนาคมและเมษายนอุณหภูมิในภาคเหนือขึ้นสูงมาก
ลักษณะภูมิอากาศจัดอยู่ในเขตโซนร้อน แบบฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดูกาลอุณหภูมิโดยเฉลี่ยประมาณ 25 องศาเซลเซียส โดยมีอุณหภูมิสูงสุด ในเดือนเมษายนประมาณ 42 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุดในเดือนมกราคมประมาณ 15 องศาเซลเซียส
ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,230 มิลลิเมตร/ปี โดยมีวันที่ฝนตกปีละประมาณ 110 วัน เขตที่มีฝนตกน้อยมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 800-1,000 มิลลิเมตร/ปี ส่วนเขตที่ฝนตกชุกจะมีปริมาณฝนสูงสุดถึง 2,000 มิลลิเมตร/ปี
ด้านเศรษฐกิจ
โรงสี 1 แห่ง
ปั๊มน้ำมันและก๊าซ 1 แห่ง

ข้อมูลด้านการสาธารณสุข      
1. การให้บริการสาธารณสุข ประกอบด้วย
      -โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ 1 แห่ง
      - พนักงานสาธารณสุขชุมชน 5 คน
      - สถานพยาบาลเอกชน 3 แห่ง  
2. บุคลากรด้านสาธารณสุข
-
การนับถือศาสนา
พุทธ
อาชีพของประชากร
รับราชการเป็นบางส่วน ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทำนา ทำการเกษตร ทำไร่ ทำสวน จับสัตว์น้ำในกว๊านพะเยา ทำโอท็อป จักสานผักตบชวา ปั้นอิฐ และรับจ้างทั่วไป

ที่มา  http://maesaisao.go.th/history1.php ข้อมูลทั่วไป
 http://maesaisao.go.th/satharanasuk.php สาธารณะสุข
 http://maesaisao.go.th/setakit.php ด้านเศรษฐกิจ
http://noth.net84.net/4.htm ภูมิอากาศ