วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2559

ศิลปวัฒนธรรม/ประเพณี



สลากภัตร
สลากภัต ภาคเหนือเรียกว่า ประเพณีทานก๋วยสลาก ตามวัดต่าง ๆ โดยจัดในช่วงเดือน 6 จนถึงเดือน 8 ซึ่งเป็นช่วงผลไม้อุดมสมบูรณ์[3] โดยมีการรวมตัวของคณะศรัทธาทั้งหมู่บ้านนำผลไม้และสำรับคาวหวานไปตั้งเป็นสลากถวายพระภิกษุที่นิมนต์มาจากวัดต่าง ๆ เป็นประเพณีใหญ่สำหรับหมู่บ้านและวัดนั้น ๆ


เผาหลัวผิงไฟ
แต่โบราณอากาศหนาวมากประกอบกับชาวบ้านยากจนไม่ค่อยมีเครื่องนุ่งห่ม ส่วนใหญ่ใช้การผิงไฟช่วยให้อบอุ่น ในช่วงการตานเข้าใหม่คือวันเพ็ญเดือน 4เหนือประมาณตี 4 – ตี 5 อากาศจะหนาวมากคนโบราณจึงคิดการเผาหลัวพระเจ้าตอนเช้ามืด
และคิดว่าเมื่อคนเราหนาวพระพุทธเจ้าก็น่าจะหนาวด้วยจึงนำไม้หลัว(ฟืน)ที่เตรียมไว้มากองตรงหน้าวิหาร(กองเตรียมไว้ตอนเย็นก่อนวันเผา) ก่อนจุดไฟจะนำหลัวมัดเล็ก ๆ ไปประเคนพระพุทธรูป พระสงฆ์เป็นผู้ทำพิธีจุดไฟ เมื่อจุดไฟแล้วจะมีเสียงดังโป้ง ๆ จากไม้ไผ่ที่ใส่ไว้ข้างในวัตถุประสงค์เพื่อใช้ปลูกชาวบ้านให้ตื่นขึ้นมานึ่งข้าวทำกับข้าวมาถวายที่วัด อากาศอบอุ่นทั่วทั้งบริเวณวัด นับว่าเป็นกุศโลบายของคนโบราณที่โน้มน้าวจิตใจลูกหลานให้ต้องการจะทำบุญด้วยจิตสำนึกของตนเอง และคนแม่แจ่มได้สืบทอดประเพณีตานเข้าใหม่เผาหลัวพระเจ้ามาจนถึงปัจจุบันแม้คนที่ไม่ไดทำนาก็จะหาข้าวเปลือก ข้าวสาร มาร่วมทำบุญเพราะถูกสั่งสอนว่าเมื่อถึงฤดูได้กินข้าวใหม่ก่อนจะกินต้องนำไปตาน(ถวายพระ)ก่อน ตนเองถึงจะอยู่ดีมีสุข



ลอยกระทง
การลอยกระทง เป็นประเพณีที่มีมาแต่โบราณ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่า ปฏิบัติกันมาแต่เมื่อไร เพียงแต่ท้องถิ่นแต่ละแห่ง ก็จะมีจุดประสงค์และความเชื่อในการลอยกระทงแตกต่างกันไป เช่น ในเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ก็จะเป็นการบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์, เป็นบูชารอยพระพุทธบาท ณ หาดทรายริมฝั่งแม่น้ำนัมมทา ซึ่งปัจจุบันคือแม่น้ำเนรพุททาในอินเดีย หรือต้อนรับพระพุทธเจ้า ในวันเสด็จกลับจากเทวโลก เมื่อครั้งไปโปรดพระพุทธมารดา


  รดน้ำดำหัว
รดน้ำดำหัวเป็นพิธีต่อเนื่องจากวันสงกรานต์หรือวันขึ้นปีใหม่ของไทย เป็นประเพณีที่ แสดงถึงความเคารพนบน้อบต่อบิดามารดา ผู้ใหญ่ หรือผู้มีพระคุณ เป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวที ของผู้น้อยและขอขมาลาโทษที่ผู้น้อยอาจเคยล่วงเกินผู้ใหญ่ อีกทั้งเป็นการขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคล แก่ตนเองตลอดไปตั้งแต่วันแรกของการเริ่มประ เพณีสงกรานต์ จนถึงวันสุดท้ายของสงกรานต์



 เลี้ยงผีปู่ผีย่า
หมายถึงการจัดอาหารคาวหวานไปเซ่นสังเวย ดวงวิญญาณผู้ตาย ณ หิ้งผีปู่ย่าหรือหอผีชาวล้านนา            ถือว่า เมื่อปู่ ย่า ตา ยาย ตายไปวิญญาณจะวนเวียนมารักษาลูกหลาน ดังนั้นภายในบ้านของชาวล้าน          นา จึงจัดทำ"หิ้งผีปู่ย่า" ไว้ทุกบ้าน โดยจัดตั้งไว้ที่สูง นิยมจัดตั้งไว้บนหัวนอนของบ้าน สูงจากพื้น            กระดานราว ๒ เมตร หิ้งผีปู่ย่านี้ถือว่าเป็นของสูง เด็กๆจะไปเล่นไม่ได้ ผู้อาวุโส หรือพ่อแม่เท่านั้นที่        จะเกี่ยวข้องกับหิ้งปู่ย่าได้ นอกจากนี้ชาวชนบทล้านนาบางแห่ง เชื่อว่า ปู่ย่าตายายที่ตายไปแล้วหลาย        คนและ เป็นญาติพี่น้องสายเลือดเดียวกัน น่าจะอยู่ร่วมกันได้ จึงคิดสร้าง "หอผี" ขึ้น เพื่อให้ผีอยู่ร่วม        กัน

 เวียนเทียนวัดกลางน้ำ
ประเพณีเวียนเทียนที่วัดติโลกอาราม มีความแตกต่างจากการเวียนเทียนในวัดอื่นๆ คือ วัดติโลกอารามจะเวียนเทียนโดยการนั่งเรือเวียนเทียนรอบวัดซึ่งตั้งอยู่กลางน้ำ โดยในแต่ละปีจะมีการเวียนเทียน ๓ ครั้ง คือ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา และวันอาสาฬหบูชา


 ยี่เป็ง

ในพงศาวดารโยนกและจามเทวี ได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับประเพณียี่เป็งเอาไว้ว่า ครั้งหนึ่งเมื่อบ้านเมืองเกิดภัยร้ายแรงด้วยโรคอหิวาตกโรคขึ้นที่แคว้นหริภุญไชย ชาวเมืองล้มตายเป็นจำนวนมาก ทำให้ชาวเมืองที่เหลือต้องอพยพไปอยู่เมืองหงสาวดีนานถึง 6 ปี จึงกลับคืนสู่บ้านเมืองเดิม ครั้นถึงเวลาเวียนมาบรรจบครบวันที่ต้องจากบ้านเมืองไป จึงได้ทำพิธีรำลึกถึงญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วด้วยการทำกระถางใส่เครื่องสักการบูชา ธูปเทียนลอย แล้วนำไปลอยตามน้ำ เรียกว่า การลอยโขมดหรือลอยไฟ นั่นจึงเป็นที่มาของประเพณียี่เป็งที่มีมาจนถึงทุกวันนี้

ที่มาhttp://www.xnk3cikmwc5gwb5fxbya.com/category/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B8%AD/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น