วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2559

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านแม่ใส

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านแม่ใส

      ลักษณะที่ตั้ง , ขนาดของพื้นที่ , อาณาเขตติดกับ , ลักษณะภูมิประเทศ

หมู่บ้านแม่ใส เดิมชื่อ "บ้านนางเหลียว" ประชาชนส่วนใหญ่ย้ายมาจากบ้านทุ่งป่ายะ และบ้านทุ่งโค้ง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2299 มีประชาชนประมาณ 12 หลังคาเรือน มาก่อสร้างบ้านเรือนติดกับสายน้ำแม่ใส ซึ่งไหลมาจากบ้านร่องคำน้อย โดยมี พระวงศ์ ธมมวโส เป็นผู้นำ และได้จัดตั้งวัดขึ้นเป็นครั้งแรก ชื่อว่า "วัดนางเหลียว" มีนายหลาน นาแพร่ เป็นกำนันคนแรก ขึ้นกับตำบลบ่อแฮ้ว อำเภอพะเยา จังหวัดเชียงราย หมู่ที่ 2 ต่อมามีนายสุนันท์ ชุ่มวงศ์ ได้ปรับปรุงบ้านพร้อมทั้งพัฒนาหมู่บ้าน และที่มาของชื่อบ้านแม่ใส ยึดเอาจากลำน้ำแม่ใสมาเป็นชื่อหมู่บ้าน
และตำบลแม่ใส แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 12 หมู่บ้าน ดังนี้
หมู่ที่ 1      บ้านร่องไฮ
หมู่ที่ 2      บ้านแม่ใสกลาง 
หมู่ที่ 3      บ้านแม่ใสทุ่งวัวแดง
หมู่ที่ 4      บ้านแม่ใสเหล่า 
หมู่ที่ 5      บ้านบ่อแฮ้ว 
หมู่ที่ 6      บ้านสันป่าถ่อน  
หมู่ที่  7     บ้านสันช้างหิน
หมู่ที่  8     บ้านแม่ใสหัวขัว  
หมู่ที่  9     บ้านแม่ใสเหนือ
หมู่ที่ 10    บ้านสันป่าถ่อน
หมู่ที่ 11    บ้านร่องไฮ
หมู่ที่ 12    บ้านแม่ใสเหล่าใต้



ลักษณะที่ตั้ง


เป็นที่ราบภูเขา

ขนาดของพื้นที่

 มีเนื้อที่ทั้งหมด 4,395 ไร่ 2 งาน

โดยมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

- ทิศเหนือ             ติดกับกว๊านพะเยาและตำบลเวียง อำเภอเมืองพะเยา 
- ทิศใต้     ติดกับตำบลแม่กา   และตำบลแม่นาเรือ
- ทิศตะวันออก     ติดกับตำบลแม่ต๋ำ และตำบลแม่กา    
- ทิศตะวันตก       ติดกับตำบลแม่นาเรือและตำบลบ้านตุ่น  อำเภอเมืองพะเยา

ลักษณะภูมิประเทศ

ภูมิประเทศเต็มไปด้วยขุนเขาน้อยใหญ่สลับซับซ้อน และมีพื้นที่สำคัญของประเทศอยู่หลายจุด

สภาพภูมิอากาศ

ภาคเหนือมีลักษณะภูมิอากาศดังนี้
 1.ประเภทภูมิอากาศ
     ภาคเหนือมีภูมิอากาศแบบร้อนชื้นสลับร้อนแห้งแล้ง หรือฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดู
2.อุณหภูมิ
     โดยที่ภาคเหนือตั้งอยู่ในภาคพื้นทวีปมากที่สุด พิสัยอุณหภูมิจึงสูงมาก มีอุณหภูมิสูงสุด 44.5 องศาเซลเซียส ที่ จ. อุตรดิตถ์ เป็นอุณหภูมิที่เคยสูงสุดของภาคและ ของประเทศ ฤดูหนาวอากาศเย็น เคยมีอุณหภูมิต่ำสุดถุง 1 องศาเซลเซียสที่ จ.เชียงราย
3.ปริมาณฝน
     ภาคเหนือได้รับฝนส่วนใหญ่ในช่วงฤดูฝนที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่านประเทศไทย ซึ่งเป็นช่วงฤดูฝนด้านที่ต้นลมจะได้รับปริมาณฝนมากกว่าด้านปลายลม ซึ่งฝนที่ตก อยู่นั้นเป็นลักษณะของฝนภูเขา พื้นที่หน้าเขาจะได้รับฝนมากกว่าด้านหลังเขา และได้รับฝนจากพายุดีเปรสชันที่พัดมาจากทะเลจีนใต้ จังหวัดที่มีปริมาณน้ำฝน มากที่สุดของภาคเหนือคือ จ.เชียงราย จังหวัดที่มีปริมาณน้ำฝนน้อยที่สุดคือ จ.ลำพูน
4.ฤดูกาล
     ภาคเหนือมี 3 ฤดู คือ ฤดูฝน ฤดูหนาว และฤดูร้อน
     ฤดูฝน ซึ่งเป็นฤดูที่เริ่มลงมือเพาะปลูกพืชเมืองร้อน จะเริ่มประมาณกลางเดือนพฤษภาคมและไปสิ้นฤดูในเดือนกันยายนหรือต้นเดือนตุลาคม ฝนที่ตกเป็นฝนจาก มรสุมตะวันตก เฉียงใต้ที่พัดมาจากอ่าวเบงกอล กับฝนจากพายุดีเปรสชันที่พัดจากทะเลจีนใต้
     ฤดูหนาว เป็นฤดูของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มต้นประมาณกลางเดือนตุลาคมและสิ้นสุดประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ฤดูหนาวในภาคเหนือมีลักษณะเห็นเด่นชัด กว่าภาคกลาง และภาคใต้ เพราะอยู่ใกล้แนวเคลื่อนที่ของอากาศหนาวเย็นที่เคลื่อนที่จากเขตความกดอากาศสูงในไซบีเรียและผ่านประเทศจีน
     ฤดูร้อน เริ่มต้นประมาณกลางเดือนกุลภาพันธ์และไปสิ้นสุดประมาณกลางเดือนพฤษภาคม ในเดือนกุมภาพันธ์มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเริ่มอ่อนกำลังลง ทำให้ลมตะวันออกเฉียง ใต้จากทะเลจีนมีกำลังแรงขึ้น เป็นผลให้เกิดพายุฤดูร้อนขึ้นในภาคเหนือเป็นครั้งคราว ในเดือนมีนาคมและเมษายนอุณหภูมิในภาคเหนือขึ้นสูงมาก
ลักษณะภูมิอากาศจัดอยู่ในเขตโซนร้อน แบบฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดูกาลอุณหภูมิโดยเฉลี่ยประมาณ 25 องศาเซลเซียส โดยมีอุณหภูมิสูงสุด ในเดือนเมษายนประมาณ 42 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุดในเดือนมกราคมประมาณ 15 องศาเซลเซียส
ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,230 มิลลิเมตร/ปี โดยมีวันที่ฝนตกปีละประมาณ 110 วัน เขตที่มีฝนตกน้อยมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 800-1,000 มิลลิเมตร/ปี ส่วนเขตที่ฝนตกชุกจะมีปริมาณฝนสูงสุดถึง 2,000 มิลลิเมตร/ปี
ด้านเศรษฐกิจ
โรงสี 1 แห่ง
ปั๊มน้ำมันและก๊าซ 1 แห่ง

ข้อมูลด้านการสาธารณสุข      
1. การให้บริการสาธารณสุข ประกอบด้วย
      -โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ 1 แห่ง
      - พนักงานสาธารณสุขชุมชน 5 คน
      - สถานพยาบาลเอกชน 3 แห่ง  
2. บุคลากรด้านสาธารณสุข
-
การนับถือศาสนา
พุทธ
อาชีพของประชากร
รับราชการเป็นบางส่วน ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทำนา ทำการเกษตร ทำไร่ ทำสวน จับสัตว์น้ำในกว๊านพะเยา ทำโอท็อป จักสานผักตบชวา ปั้นอิฐ และรับจ้างทั่วไป

ที่มา  http://maesaisao.go.th/history1.php ข้อมูลทั่วไป
 http://maesaisao.go.th/satharanasuk.php สาธารณะสุข
 http://maesaisao.go.th/setakit.php ด้านเศรษฐกิจ
http://noth.net84.net/4.htm ภูมิอากาศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น