อาหารพื้นเมือง
น้ำพริกหนุ่ม
น้ำพริกหนุ่ม คือพริกหนุ่ม
คือพริกสดที่ยังไม่แก่จัด น้ำพริกหนุ่ม เป็นน้ำพริกที่มีลักษณะข้น
เป็นอาหารพื้นบ้านล้านนาที่รู้จักกันทั่วไป มีจำหน่ายแพร่หลายแก่นักท่องเที่ยว
นิยมซื้อเป็นของฝาก รับประทานกับแคบหมู บางสูตรใส่ปลาร้าสับ และกะปิห่อใบตองย่างไฟ
บางสูตรใส่น้ำปลากับเกลือ แล้วแต่ชอบ
แคบหมู
แคบหมู เป็นอาหารขึ้นชื่อของชาวล้านนา
ใช้รับประทานร่วมกับอาหารอื่นๆ เช่น น้ำพริก ขนมจีนน้ำเงี้ยว
ใช้เป็นส่วนผสมในการตำน้ำพริก หรือแกง เช่น แกงบอน แกงผักตำลึง (แกงผักแคบ) แกงหน่อไม้
แคบหมูมีทั้งชนิดติดมัน และไม่ติดมัน ที่เรียกกันว่า แคบหมูไร้มัน
ชาวล้านนาดั้งเดิม นิยมรับประทานแคบหมูเป็นอาหาร มากกว่าเป็นเครื่องแนม
ไส้อั่ว
ไส้อั่ว
คำว่า อั่ว หมายถึง แทรก หรือยัดไว้ตรงกลาง ไส้อั่ว
จึงหมายถึงไส้ที่มีการนำสิ่งของยัดไว้ การทำไส้อั่ว นิยมใช้ไส้หมูและเนื้อหมู
การทำไส้อั่ว เป็นวิธีการถนอมอาหาร ให้สามารถรับประทานได้นานขึ้น คือประมาณ 1-2 วัน แต่ถ้าเก็บไว้ในที่เย็น หรือปัจจุบัน
มีการบรรจุถุงแบบสูญญากาศ ก็เก็บไว้ได้นานมากยิ่งขึ้น การทำให้ไส้อั่วสุก
จะใช้วิธีปิ้ง หรือทอดก็ได้
น้ำพริกอ่อง
น้ำพริกอ่อง
นับเป็นน้ำพริกพื้นบ้านล้านนาที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายพอๆ กับน้ำพริกหนุ่ม
ลักษณะเด่นของน้ำพริกอ่อง คือมีสีส้มของสีมะเขือเทศและพริกแห้ง
ที่เคี่ยวจนเป็นน้ำขลุกขลิก มีน้ำมันลอยหน้าเล็กน้อย มีสามรส คือ เปรี้ยว เค็ม
เผ็ด เล็กน้อย และรสหวานตาม นิยมรับประทานกับผักสดหรือผักต้มก็ได้ บางสูตร ผัดหมูก่อนแล้ว
จึงตามด้วยเครื่องปรุงและมะเขือเทศภายหลัง บางสูตร โขลกเนื้อหมู
เครื่องปรุงและมะเขือเทศให้เข้ากันก่อน จึงนำไปผัดกับน้ำมันพืช บางสูตร
ใส่ถั่วเน่าแข็บหรือใส่เต้าเจี้ยว ในการปรุงรส
ขนมจีนน้ำเงี้ยว
น้ำเงี้ยว หรือ
น้ำงิ้วเนื่องจากมีส่วนประกอบคือดอกเงี้ยวหรือดอกงิ้ว
เป็นอาหารภาคเหนือของประเทศไทย ดัดแปลงมาจากน้ำพริกอ่อง
น้ำพริกแกงจะคล้ายน้ำพริกแกงส้มของทางภาคกลาง คือใช้พริกแห้ง แต่ไม่ใส่กระชาย
และใส่ถั่วเน่าแผ่นหรือเต้าเจี้ยวหรือทั้งสองอย่าง มักจะใช้รับประทานกับ ขนมจีน
(ขนมเส้น) หรือเส้นก๋วยเตี๋ยว
แกงขนุน
แกงขนุน คือ
แกงขนุน หรือ แกงบ่าหนุน ถือว่าเป็นแกงที่มีชื่อเป็นมงคล
บางท่านนิยมแกงกินในงานแต่งงาน
เพื่อเป็นเคล็ดว่าให้คู่แต่งงานนั้นมีความเกื้อหนุนจุนเจือต่อกัน และในวันปากปี
คือหลังวันเถลิงศก (วันพญาวัน) หนึ่งวัน บางแห่งนิยมใส่ข่า ตะไคร้ทุบ
และอาจมีจักข่าน (สะค้าน) บ่าแขว่น (ผลกำจัด) โขลกใส่ลงไปในแกงด้วย
แกงโฮ๊ะ
โฮ๊ะ หมายถึงรวม
แกงโฮะจึงหมายถึงการเอากับข้าวหลายๆ
อย่างมาแกงรวมกันเป็นอีกภูมิปัญญาหนึ่งของบ้านเรา วิธีทำแกงโฮะไม่ยุ่งยาก
โดยนำกับข้าวที่มีอยู่หลายๆ อย่างมาเทรวมกัน
ถ้าจะให้อร่อยจะต้องใส่แกงฮังแลเข้าไปด้วยตั้งกระทะ ไฟอ่อนๆ ใส่ตะไคร ข่า
จากนั้นโขลกพริก กระเทียม กะปิ ใส่ลงไปในแกง ตามด้วยหน่อไม้ดองเล็กน้อย ถั่วฝักยาว
มะเขือเปราะ มะเขือพวง (บางแห่งใส่ดอกข่าลงไปด้วย) หลังจากนั้นใส่ผงกะหรี่
ใส่เกลือปรุงรสตามชอบ เคี่ยวจนงวด ใส่วุ้นเส้น ใบมะกรูด ผัดจนแห้ง
แกงเห็ดห้า
แกงเห็ดห้าจะมีรสชาติเผ็ด เค็ม
เปรี้ยวของใบบ่าเหม้า และที่สำคัญจะมีกลิ่นหอมดินของเห็ดช่วงเป็นอีกเสน่ห์ของรสชาติที่ลงตัวในช่วงฤดูฝน
ข้าวหนึกงา
ข้าวหนึกงา
เป็นอาหารพื้นบ้านพื้นเมืองหรือสำหรับบางคนก็เป็นของกินเล่น
ที่มักนิยมทำกินกันในช่วงฤดูหนาว ซึ่งวิธีการทำก็ไม่ยุ่งยากซับซ้อน เพีงนำข้าวเหนียว
(นิยมนำข้าวเหนียวที่ยังร้อน ๆ อุ่น ๆ มาทำ ) มาผสมคลุกเคล้ากับงาที่โขลกละเอียด
(คำว่า “หนึก” เป็นคำเมืองแปลว่าผสมคลุกเคล้านวดให้เข้ากัน)ใส่เกลือเล็กน้อย
เท่านี้ก็ได้ “ข้าวหนึกงา”
อองปู
ปู๋อ่อง เป็นอาหารพื้นบ้านหารับประทานได้ในช่วงฤดูฝนไปจนถึงต้นฤดูหนาวเพราะช่วงนี้เป็นช่วงที่ปูนามีเยอะมาก
วิธีทำก็แสนจะง่ายโดยนำมันปูนาที่หาได้มารวมกันในกระดองปู(บางพื้นที่นำไข่ไก่ผสมด้วย)แล้วปรุงรสด้วยเกลือเล็กน้อย
จากนั้นนำไปย่างไฟอ่อนๆ จนสุก
ยำหน่อไม้
ยำหน่อไม้ นิยมใช้หน่อไม้ไล่
ต้มให้สุกจนมีรสหวาน นำมายำกับเครื่องปรุง นิยมใส่น้ำปู ใบขิงหั่น หรือไพล (ปูเลย)
บางสูตรใส่หมูสับลงไปด้วย โดยต้มพร้อมปลาร้าสับ
จากนั้นจึงนำมาคลุกเคล้ากับเครื่องปรุง
ไข่ป่าม
ไข่ป่าม ป่ามไข่ หรืออ็อกไข่
เป็นการปรุงอาหารด้วยวิธีอ็อก โดยการใช้ใบตอง 2-3 ใบเย็บเป็นกระทง
มีส่วนผสมง่ายๆ คือไข่ไก่ หรือไข่เป็ด ใส่เกลือและต้นหอมซอย
ปัจจุบันนิยมใช้พริกหยวกสีแดง หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อเพิ่มสีสรรให้แก่อาหาร
ให้น่ารับประทาน วิธีการทำให้สุก นำไข่ป่ามที่ปรุงแล้วใส่กระทงไปย่างกับเตาถ่าน
หรือใช้วิธีตั้งกระทะ ใช้ไฟอ่อน
แกงอ่อม
แกงอ่อม
คือ
เป็นแกงประเภทที่ใช้เนื้อสัตว์เป็นส่วนผสมหลัก เช่น ปลา เนื้อวัว เนื้อควาย
เนื้อไก่ นอกจากเนื้อแล้ว นิยมใส่เครื่องในสัตว์เป็นส่วนผสมด้วย
เรียกชื่อตามส่วนผสมหลัก ได้แก่ แกงอ่อมไก่ แกงอ่อมปลา แกงอ่อมเนื้อ
(แกงอ่อมจิ๊นงัว แกงอ่อมจิ๊นควาย) แกงอ่อมหมู (แกงอ่อมจิ๊นหมู)
บางก็แกงอ่อมเฉพาะเครื่องใน เช่น แกงอ่อมเครื่องในวัว แกงอ่อมเครื่องในควาย
ส้าจิ้น
ส้าจิ๊น คือส้าเนื้อ ส่วนผสมหลักคือ
เนื้อควายหรือเนื้อวัวสด และเครื่องใน สำหรับเครื่องใน นิยมนำมาต้มก่อนปรุง
ใช้เครื่องปรุง เป็นพริกลาบ เช่นเดียวกับลาบชนิดต่างๆ
ถ้าทำเลี้ยงแขกตอนดึกหรือเช้าตรู่ สำหรับงานเลี้ยงที่มีการชำแหล่ะหมู วัว หรือควาย
ส้าจิ๊นที่ทำตอนดึก เรียกกันว่า ส้าดึก
แอ๊บปลา
แอ็บปลา คืออาหารที่ปรุงด้วยการนำปลาสด เช่น
ปลาช่อน ปลาดุก มาคลุกเคล้ากับเครื่องปรุง แล้วห่อด้วยใบตอง
เช่นเดียวกับแอ็บอ่องออ แอ็บกุ้ง แล้วนำไปปิ้งหรือย่าง ด้วยไฟอ่อนๆ จนข้างในสุก
ที่มา http://www.phayao108.com/category/%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B9%8B%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B2/
ที่มา http://www.phayao108.com/category/%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B9%8B%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B2/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น